ดาวน์โหลดไฟล์บทความรูปเล่ม Proceedings


The 6<sup>th</sup> National and International Research Conference 2023 : NIRC VI 2023

PROCEEDINGS (INTERNATIONAL-ระดับนานาชาติ)


Public Relations Poster

กำหนดการส่งบทความวิชาการ


# กิจกรรม ช่วงเวลา
1 ประชาสัมพันธ์โครงการ 5 พฤศจิกายน 2565 – 14 กุมภาพันธ์ 2566
2 ส่งบทความวิจัยฉบับเต็มพร้อมชำระค่าลงทะเบียน 10 พฤศจิกายน 2565 – 25 มกราคม 2566
3 ประกาศรายชื่อบทความที่ได้รับการยอมรับให้นำเสนอในการประชุม 31 มกราคม 2566
4 ให้ส่งบทความวิจัยฉบับเต็ม (Full papers) ที่ได้แก้ไขแล้ว เพื่อนำเสนอผลงานกลับคืนมายังกองบรรณาธิการฯ 30 มกราคม 2566
5 ส่งไฟล์ PowerPoint การนำเสนอทั้งแบบบรรยายและโปสเตอร์ 10 กุมภาพันธ์ 2566
6 ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 10 พฤศจิกายน 2565 – 4 กุมภาพันธ์ 2566
7 การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 6 พ.ศ. 2566 15 กุมภาพันธ์ 2566
8 ส่งบทความฉบับสมบูรณ์ที่แก้ไข หลังการนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ 20 กุมภาพันธ์ 2566
9 เผยแพร่บทความวิจัยฉบับเต็มในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Online Proceedings) 20 มีนาคม 2566
หมายเหตุ: *บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่มาจากนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจะต้องได้รับอนุญาตจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระก่อน และมีชื่อของอาจารย์ที่ปรึกษาปรากฏ ในบทความนั้นด้วย
                    **กองบรรณาธิการของรายงานสืบเนื่องจากการประชุมฯ จะตีพิมพ์บทความที่ได้รับการตอบรับ ให้นำเสนอในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม และสามารถสืบค้นข้อมูลการตีพิมพ์ในฐานข้อมูลงานวิจัย Google Scholar ได้

ติดต่อเรา


ติดตามข่าวสารและสอบถามข้อมูล
สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ http://nirc.bru.ac.th และ facebook: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ หรือสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่
- สำนักงานคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
เบอร์โทร: (66)44 611221 ต่อ 7401,7402, 086 - 468 1656
แฟกซ์: (66)44 612858
อีเมล์: nircbru@bru.ac.th
- ผศ.ดร.ธิติ ปัญญาอินทร์
โทรศัพท์ 088-377 5826
- ผศ.ดร.นิยม อานไมล์
โทรศัพท์ 099-716 0375
- อาจารย์ ดร.เฉลิมกิต เข่งแก้ว
โทรศัพท์ 084-167 5908
- ผศ.ดร.สราวุธ แก้วศรี
โทรศัพท์ 061-031 8203
- อาจารย์พัลลภา เลิศเจริญวนิช
โทรศัพท์ 082-446 9547
- ผศ.ดร.ปรัชญา ชุมแวงวาปี
โทรศัพท์ 088-563 5656
- คุณนภาวรรณ จันทร์พาณิชย์
โทรศัพท์ 093 - 106 9947
- คุณประกาย ศิริสำราญ
โทรศัพท์ 089 - 1482 4362
- คุณกนกวรรณ คำหวัน
โทรศัพท์ 089-584 5949

การลงทะเบียนและการชำระเงิน


1. การประชุมระดับนานาชาติ

  • 3,500 บาท สำหรับผู้นำเสนอผลงานวิจัยทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

2. การประชุมระดับชาติ

  • 2,500 บาท สำหรับผู้นำเสนอผลงานวิจัย

  หมายเหตุ
                บทความที่มีผู้ร่วมวิจัยมากกว่า 1 คน ให้ลงทะเบียนเป็นผู้สมัครนำเสนอผลงานวิจัย 1 คน สำหรับค่าลงทะเบียนกรณีที่ผู้สมัคร ทุกประเภทที่ชำระเงินแล้วไม่ได้มาเสนอผลงานหรือไม่ได้เข้าร่วมประชุม หรือผู้สมัครที่ถูกตัดสิทธิ์ ในการร่วมนำเสนอผลงานวิจัย มหาวิทยาลัย ฯ จะไม่คืนเงินค่าลงทะเบียนไม่ว่ากรณีใด ๆ เนื่องจากค่าลงทะเบียนได้นำไปใช้สำหรับเป็นค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความวิจัย (Peer Reviewers) และผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ สามารถเบิกจ่ายได้ตามสิทธิ์จากต้นสังกัดและไม่ถือว่าเป็นวันลา

วิธีการชำระเงิน


1. ได้ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ติดต่อสำนักงานคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย (ชั้น 8 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา ฯ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เลขที่ 439 ถนนจิระ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
2. ชำระผ่านธนาคาร โอนเงินผ่านระบบ Electronic Bank Transfer
บัญชีธนาคารของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ชื่อบัญชี : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้ง 6 พ.ศ. 2566 (ประเภท ออมทรัพย์)
ธนาคาร : ธนาคารกรุงเทพ สาขามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
หมายเลขบัญชี : 677-0-26847-9
รหัส : BKKBTHBK
ที่อยู่: ธนาคารกรุงเทพ สาขามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เลขที่ 439 ถนนจิระ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 31000

  หมายเหตุ: หลังจากที่ได้โอนเงินผ่านระบบแล้ว ขอให้ท่านอัพโหลดใบเสร็จการโอนเงินผ่านระบบหรือส่งสำเนามาที่ Email: nircbru@bru.ac.th

การสมัครเข้าร่วมโครงการ


                        ผู้สนใจเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย สามารถสมัครได้ที่ nirc.bru.ac.th ตามกำหนดการสำคัญ

ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานวิจัย


                        ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานวิจัย ในวันที่ 31 มกราคม 2566
                        โดยผู้นำเสนอจะต้องแก้ไขบทความตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความวิจัย (Peer reviewers) และให้ส่งบทความวิจัยฉบับเต็ม (Full papers) ที่ได้แก้ไขแล้วเพื่อนำเสนอผลงานกลับคืนมายังกองบรรณาธิการของรายงานสืบเนื่องจากการประชุม ภายในวันที่ 30 มกราคม 2566
                        

หมายเหตุ: ผลงานวิจัยฉบับเต็ม ที่ผู้นำเสนอได้แก้ไขตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำหลังจากการนำเสนอ แล้วจะตีพิมพ์เผยแพร่ใน Online Proceedings และสามารถสืบค้นข้อมูลได้ในฐานข้อมูลการวิจัย Google ในวันที่ 20 มีนาคม 2566 เจ้าของผลงานจะต้องมานำเสนอผลงานวิจัยด้วยตนเองตามวันและเวลาที่กำหนดในการประชุมฯ ผลงานที่นำเสนอและได้รับการตีพิมพ์สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการสำเร็จการศึกษาตามประกาศของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)



การพิจารณาผลงาน


                        คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณา และดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เรื่อง เกณฑ์การพิจารณาบทความวิจัยและบทความวิชาการในการเผยแพร่และตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2566 และคำสั่งมหาวิทยาลัยราชัฏบุรีรัมย์ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกองบรรณาธิการรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2566 ดังนี้
                        1. การพิจารณาการเลือกกลุ่มการนำเสนอผลงานและประเภทของการนำเสนอผลงาน
                        2. การพิจารณาการคัดเลือกผลงานวิจัยที่จะนำเสนอในการประชุม ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจาก การประชุม
                        3. การพิจารณาตัดสิทธิ์การเสนอผลงานวิจัยในการประชุม ในกรณีต่อไปนี้
                                      3.1 บทคัดย่อ บทความวิจัย และโปสเตอร์ไม่ถูกต้องตามแบบฟอร์มหรือรูปแบบที่กำหนด รวมทั้งไม่ดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
                                      3.2 การลงทะเบียนและการชำระค่าลงทะเบียนล่าช้า และ/ หรือไม่ครบถ้วน
                        4. การพิจารณาผลงานโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นการสิ้นสุด

หัวข้องานวิจัย
Fields of Study

ศึกษาศาสตร์
Education

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Humanities and Social Sciences

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Science and Technology

วิทยาศาสตร์สุขภาพ
Health Science

บริหารธุรกิจ
Business Administration

การวิจัยเชิงพื้นที่
Area-based Research

การตีพิมพ์

PROCEEDINGS


                        การจัดทำรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Online Proceedings)

รูปแบบสำหรับการส่งบทความทางวิชาการ

Keynote Speaker


Prof.Dr. M.Ilhan Cagirgan
Akdeniz University, Turkey
"Thai King’s Sufficiency Economy: Community-University Engagement towards SDGs"

Featured Speaker


Prof.Dr. Ni Ni Hlaing
Mandalay University of Distance Education (MUDE), Myanmar
"Integrrating Global Issues in the Creative English Language Classrome"

Prof.Dr. R.Michael Smith
Niagara University, New York, U.S.A.
"Accelerating Education for the SDGs in a University: Why and How?"

Prof.Dr. Tariq Elyas
King Abdulaziz University-KAU (Saudi Arabia)
"Learning English in the Digital World of the 21st Century"

Prof.Dr. Saw Pyone Naing
Rector of Sagaing University of Education
"Implementing the environment dimension for Sustainable Development"

Prof.Dr. Irom Gambhir Singh
Manipur University, India
"Roles of Language in Achieving the World’s Sustainable Development Goals"

Prof.Dr. Ömür Baysal
Muğla Sıtkı Kocman University, Turkey
"Roles of Transformation in Biology Science and Education for Supporting Sustainable Development Goals"

David D. Perrodin
Mahidol University, Thailand
"A Word to the Wise: Managing Your Mental Health as an Adult Student in the New Normal"

กำหนดการประชุมวิชาการ

วัน/เวลา กิจกรรมและสถานที่
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566
08.00-09.00 น. ลงทะเบียน
ณ บริเวณด้านหน้าหอประชุมวิชชาอัตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
09.00-09.30 น. พิธีเปิดการประชุม ฯ โดย
นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์
กล่าวรายงานโดย
รองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
09.30-10.15 น. การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ศาสตร์พระราชาสู่นวัตกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในยุคนิวนอร์มัล : โอกาสและความท้ายทาย" โดย
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
10.15-11.30 น. การบรรยายพิเศษ เรื่อง "Thai King’s Sufficiency Economy: Community-University Engagement towards SDGs" โดย
Professor Dr. M. Ilhan Cagirgan Akdeniz University, Turkey
11.30-12.00 น. พิธีตัดริบบิ้นเปิดการนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ ณ หอประชุมวิชชาอัตศาสตร์ โดย
รองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
12.00-13.00 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30-17.00 น. การนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์
ณ หอประชุมวิชชาอัตศาสตร์
และการนำเสนอผลงานวิจัยภาควิจัยภาคบรรยายระดับชาติและนานาชาติ
ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ์
หมายเหตุ: กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล

                 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นมหาวิทยาลัยอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีพันธกิจหลัก ในการผลิตบัณฑิต โดยมุ่งเน้นการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ สร้างองค์ความรู้จากงานวิจัย นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น มาเป็นระยะเวลานานกว่า 50 ปี และปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยตามนโยบายของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้อยู่ในกลุ่ม 3 คือ มหาวิทยาลัยพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น (Area-based and Community) ซึ่งเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้ตระหนัก ในปรัชญาและพันธกิจที่เป็นจุดเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในบทบาทของ “คนของพระราชาข้าของแผ่นดิน” ที่มุ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นการสร้างความพร้อม ที่จะดำเนินการตามนโยบายการอุดมศึกษาภายใต้โครงการพลิกโฉมระบบการอุดมศึกษาของประเทศไทย (Re-inventing University) และเตรียมเข้ารับการประเมินการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดย Times Higher Education (THE)
                 ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุพันธกิจดังกล่าวและปฏิบัติตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จึงได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2566 ขึ้นในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้หัวข้อ “ศาสตร์พระราชาสู่นวัตกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในยุคนิวนอร์มัล : โอกาสและความท้าทาย” การประชุมครั้งนี้จะเป็นการเปิดเวทีให้องค์กร หน่วยงาน สถาบัน นักวิจัย นักวิชาการ ผู้สนใจและประชาชนทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ ได้เข้าร่วมนำเสนอและเยี่ยมชมผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ ผลผลิต ผลิตภัณฑ์ สิ่งประดิษฐ์คิดค้น และนวัตกรรมที่เกิดจากงานวิจัย ตลอดจนเผยแพร่ผลงานวิจัย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำวิจัยร่วมกัน                 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
                        1. เพื่อเป็นเวทีให้คณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏและและสถาบันการศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทย อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
                        2. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมของคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏและสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
                        3. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรมของคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏและสถาบันการศึกษา ทั้งในและต่างประเทศให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
                        4. เพื่อเชื่อมโยงผลงานวิจัยที่มีคุณภาพของไทยและต่างประเทศไปสู่กลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้ประโยชน์ ทั้งเชิงวิชาการ เชิงนโยบาย เชิงสังคมและชุมชน ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ
                กำหนดเวลาและสถานที่
                        1. วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 รวม 1 วัน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
                        2. พิธีเปิด การปาฐกถาพิเศษ (Keynote address) ณ หอประชุมวิชชาอัตศาสตร์
                        3. การบรรยายพิเศษ (Featured speech)
                        4. การนำเสนอนิทรรศการ
                ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                        1. มีคณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เข้าร่วมประชุม ไม่น้อยกว่า 150 คน เป็นผลงานระดับชาติ ไม่น้อยกว่า 80 เรื่อง และระดับนานาชาติไม่น้อยกว่า 30 เรื่อง และผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ได้รับความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานวิจัย วิชาการ และคุณภาพชีวิต และเกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏกับเครือข่ายสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
                        2.ผลผลิตงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรมได้นำส่งผู้ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
                        3. ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพได้รับการเผยแพร่และตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม วารสารวิชาการในฐานข้อมูลระดับชาติ หรือวารสารวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่ได้รับ ความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย และวารสารระดับนานาชาติที่เข้าร่วมเป็นแหล่งตีพิมพ์
                การประเมินผลโครงการ
                        1. ใช้วิธีนับจำนวนผู้นำเสนอผลงานวิจัย จำนวนบทความที่ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ และผู้เข้าร่วมกิจกรรม
                        2. ใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ (Google form) ของผู้เข้าร่วมโครงการ
                การรายงานผลการดำเนินโครงการ
                        1. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย รายงานผลการดำเนินโครงการเมื่อเสร็จสิ้นโครงการตามแผนที่วางไว้ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบัณฑิตวิทยาลัย คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และสภาวิชาการ
                        2. อธิการบดีหรือผู้แทน รายงานผลการดำเนินโครงการต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
                        3. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยรายงานผลไปยังสถาบันที่เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพในการประชุมฯ
                ผู้รับผิดชอบโครงการ
                        บัณฑิตวิทยาลัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาการจัดการ คณะพยาบาลศาสตร์ สำนักงานวิเทศสัมพันธ์ และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

หน่วยงานสนับสนุนโครงการ

                        สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) สถาบันคลังสมองของชาติ (สคช.) สภาคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษาแห่งประเทศไทย (สคบท.) สภาคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย (สภค.มส.มรภท. สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย (สนนท.) สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) และสถาบันจากต่างประเทศที่มีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้แก่
                                        1. Niagara University, U.S.A.
                                        2. Manipur University, India
                                        3. Institute of Advanced Studies in English, India
                                        4. Akdeniz University, Turkey
                                        5. Changzhou University, China
                                        6. Beijing Silkroad Xinyu Cultural Exchange Center, China
                                        7. National Pingtung University(NPTU), Taiwan
                                        8. University of Northern Philippines, the Philippines
                                        9. Philippine State College of Aeronautics, the Philippines
                                        10. Hue University College of Foreign Languages, Vietnam
                                        11. Pattimura University, Indonesia
                                        12. Mandalay University of Distance Education (MUDE), Myanmar
                                        13. University of Myitkyina, Myanmar
                                        14. University of Pakokku, Myanmar
                                        15. University of Mawlamyine, Myanmar
                                        16. University of Maubin, Myanmar
                                        17. Savannkhet Teacher Training College (STTC), Lao PDR
                                        18. Royal University of Phnom Penh, Cambodia
                                        19. Middle Tennessee State University, USA
                                        20. Istanbul University, Turkey

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์

สถานที่